top of page

มะเร็งลำไส้และทวารหนัก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นต้นรองจากมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงในอัตราใกล้เคียงกัน โดยส่วนมากจะพบในวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจน แต่มีแนวโน้มว่าสามารถเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม อาหาร และพันธุกรรม

อาการ

ผู้ป่วยในระยะแรกอาจไม่มีอาการใดๆ หรืออาจมีอาการปวดท้องแน่นท้องคล้ายโรคกระเพาะ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเดิน มีลักษณะในการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป อาจมีการอุดตันของลำไส้ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมูกปนเลือด หรือมีเลือดออกในอุจจาระเป็นเวลานาน ทำให้มีภาวะซีดได้

การวินิจฉัย

เนื่องจากในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ การตรวจเลือดในอุจจาระและการสองกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อาจจะทำให้ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะทำให้มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ แนะนำให้เริ่มตรวจด้วยวิธีดังกล่าวตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป

การรักษา

1.กรณีที่มะเร็งยังอยู่ในเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ จะรักษาโดยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนหนึ่งที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออก

2.ส่วนมะเร็งที่เกิดบริเวณทวารหนักจะใช้การฉายแสงร่วมกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

3.การใช้เคมีบำบัดหลังการผ่าตัดหรือการฉายแสงจะช่วยเพิ่มอัตราการหายขาดจากโรคได้ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดเป็นระยะเวลา 6 เดือน

4.การทานยาสมุนไพนทางเลือก

การป้องกัน

การรับประทานอาหารที่มีเส้นใหญ่มาก เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้

บทความอ้างอิงจาก | สถาบันมะเร็งแห่งชาติ | National Cancer Institute

Retrieved from: http://www.nci.go.th/th/Knowledge/lamsai.html

bottom of page