มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง
โดยทั่วไปมะเร็งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
Carcinoma: มะเร็งคาซิโนมา คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากผิวหนัง หรือ เนื้อเยื่อบุอวัยวะ
Sarco ma: มะเร็งซาโคมา คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก กระดูกอ่อน ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือเส้นเลือด
Leukemia: มะเร็งลิวคีเมีย คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้มีความผิดปกติของเม็ดเลือด
Lymphoma and myeloma: มะเร็งลิมโฟมา และ ไมอีโลมา คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
Central nervous system cancers: มะเร็งระบบสมอง และไขสันหลัง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง โดยทั่วไปแพทย์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามะเร็งในแต่ละบุคคลเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว อย่างไรก็ตามข้อมูลในปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โอกาสในการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น
บุหรี่ มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งกล่องเสียง, มะเร็งช่องปากและลำคอ, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งไต, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งปากมดลูก
แสงแดด หรือแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งผิวหนัง
รังสีในธรรมชาติ หรือเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์ แก๊ซเรดอน หากได้รับปริมาณสูงเกินกำหนด สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลิวคีเมีย มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร
สารเคมี เช่น asbestos, benzene, benzidine, cadmium, nickel หรือ vinyl chloride
เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เอชพีวี ไวรัส, ไวรัสตับอักเสบบี ซี, ไวรัสเอชไอวี เป็นต้น
การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม
ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง มะเร็งบางชนิดสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม ที่เรียกว่า “ยีน” อย่างไรก็ดีมะเร็งที่ถ่ายทอดในครอบครัวพบได้เป็นสัดส่วนน้อย
แอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม
วิถีการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่นการกินอาหารไขมันสูง สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ความอ้วนหรือ ออกกำลังกายน้อย สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และ มะเร็งโพรงมดลูก
อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องเป็นมะเร็ง ในขณะเดียวกันผู้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็สามารถเกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกัน, มะเร็งไม่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บ, มะเร็งไม่สามารถติดต่อกันเหมือนการติดเชื้อโรค
อาการที่ควรให้ความสนใจในการค้นหาสาเหตุ เนื่องจากอาจเป็นอาการแสดงของโรคมะเร็ง ได้แก่
ตรวจพบการหนาตัวหรือก้อนที่ผิวหนัง เต้านม หรือส่วนใดๆ ของร่างกาย
ไฝเกิดขึ้นใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของไฝเดิม เช่น ขยายขนาดโตขึ้น คัน แตกเป็นแผล เลือดออก
เจ็บปวดที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายเรื้อรัง
เสียงแหบหรือไอเรื้อรัง
มีความเปลี่ยนแปลงในการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะปนเลือด ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง อุจจาระลำบาก อุจจาระปนเลือด ปวดหน่วงทวารหนักเวลาขับถ่าย
มีความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร เช่น กลืนติด กลืนลำบาก กลืนเจ็บ อิ่มเร็ว คลื่นไส้อาเจียน
การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก เช่น น้ำหนักลดมากโดยไม่มีสาเหตุอันควร
มีสารคัดหลั่งออกผิดปกติหรือเลือดออก เช่น ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติภายหลังการมีเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวข้างต้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งเสมอไป ดังนั้นหากท่านมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยทั่วไปมะเร็งในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการเจ็บปวดอย่างเด่นชัด หากท่านมีอาการข้างต้นจึงไม่ควรเพิกเฉย ควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ
ขอขอบคุณบทความจาก | โรงพยาบาล ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ Retrieved from: http://www3.siphhospital.com/th/news/article/share/240
#โรงพยาบาลศรราชปยมหาราชการณย #siph #รพศรราชพรเมยม #ศรราชแพง #ศรราชใหม #ศรราชปยะ #ศรราชหร #ปยมหาราชการณย #คณะแพทยศรราชมหาวทยาลยมหดล #หมอศรราช #มะเรง #การรกษามะเรง #เกยวกบมะเรง #มะเรงตอมนำเหลอง #นำเหลองเสย #ระบบนำเหลองบกพรอง #ศรราช #โรงพยาบาลบำรงราษฎร #เนองอก #ระบบภมคมกน #ศรราชปยมหาราชการณย #โรงพยาบาลศรราช #กรงเทพทพโอสถ #ศนยมะเรงศรราชปยมหาราชการณย #ยาประดง #พนธกรรม
Comments